ตลาด ฟอเรกซ์ ถือเป็นตลาดซื้อขายค่าเงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สามารถทำให้คนจากทั่วทุกมุมโลกร่วมลงทุนได้ ด้วยเม็ดเงินที่มีสภาพคล่องมหาศาล เทรดได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่มีบางอย่างที่นักลงทุนควรรู้ไว้เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินที่สามารถทำให้ค่าเงินสกุลนั้น ๆ ขึ้นหรือลง ได้ ซึ่งมีปัจจัยใดบ้างไปดูกันเลย
- GDP
Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งก็คือมูลค่าของสินค้าและบริการของประเทศนั้น ๆ รวมถึงการเข้าไปลงทุนของต่างชาติ รายรับ รายจ่ายของรัฐ ประกอบไปด้วย
- Consumption คือ การบริโภคของประชาชนและเอกชนภายในประเทศ เช่น ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
- Investment คือ การลงทุนไม่ว่าจะเป็นในส่วนของต่างชาติ เอกชน เช่น อาคารสถานที่, ถนน, รถไฟฟ้า
- Government Spending คือ การลงทุนภาครัฐตามนโยบาย, รายจ่ายรัฐ
- Export (X)คือ มูลค่าการส่งออก ขายสินค้าได้
- Import (M) คือ การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศ
โดยมีสมการในการคำนวณดังนี้ GDP = C+I+G+(X-M) เมื่อผลที่ได้ GDP เป็นบวก เท่ากับเศรษฐกิจโต แต่ถ้าเป็นลบคือหดตัว เมื่อเศรษฐกิจดี ค่าเงินของประเทศก็จะดีขึ้นไปด้วย
- Capital Market
ตลาดเงินทุน ที่มีการออมระยะยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล, เงินฝากธนาคาร, กองทุนต่าง ๆ ที่มีเงินเยอะ ๆ เพื่อให้คนหรือเอกชนสามารถกู้ไปลงทุนได้ เมื่อมีการกู้ไปลงทุนก็จะเกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ที่มากขึ้น
- นโยบายทางการเงิน
นโยบายทางการเงินก็มีส่วนที่เกี่ยวข้องในการเทรด ฟอเรกซ์ ที่ทำให้ค่าเงินมีโอกาสปรับตัวขึ้นและปรับตัวลง เช่น การปรับลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา, ธนาคารกลางยุโรปหรือญี่ปุ่น เพราะ ทั้ง 3 ธนาคารหลักนี้มีผลต่อการปรับลดค่าเงินของแต่ละประเทศนั้น ๆ เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด ทำให้คนในประเทศโยกย้ายเงินออกไปลงทุนต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า จึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง ในขณะที่เงินที่ไหลไปเข้าประเทศที่ลงทุนค่าเงินก็จะแข็งตัวขึ้น
- อัตราการจ้างงาน
หลายต่อหลายครั้งที่นักลงทุนมักจะเฝ้ารอการประกาศอัตราการจ้างงาน non farm ของสหรัฐอเมริกา นั่นเพราะยิ่งมีคนว่างงานมากขึ้นเท่าไร ก็จะส่งผลต่อค่าเงินที่เป็นลบมากขึ้น ซึ่งในทุก ๆ วันศุกร์แรกของเดือนจะมีการประกาศช่วงเวลาประมาณ 19.30-20.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จึงทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดความผันผวนเป็นอย่างมาก นักลงทุนโดยส่วนใหญ่มักจะหลีกเลี่ยงที่จะเทรดในช่วงเวลาประกาศนี้
- สภาวะทางการเมือง
การเมืองถือเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ส่งผลต่อค่าเงิน ฟอเรกซ์ ของประเทศนั้น ๆ โดยเฉพาะการเมืองที่ไม่นิ่งและมีปัญหา ดังจะเห็นได้จากประเทศไทยก่อนปี พ.ศ.2556-2557 ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33-35 บาท/ ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีปัญหาการประท้วงในด้านการเมืองทำให้นักลงทุนต่างประเทศไม่มาลงทุน แตกต่างจากปัจจุบัน ( พ.ศ. 2562) ที่มีการเลือกตั้งการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น นโยบายต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด ทำให้มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนจนทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นอย่างมากมาอยู่ที่ 30 บาท/ ดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งเกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศจีน ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงไปด้วยเช่นกัน
- สงคราม
แม้ว่าสภาวะสงครามอาจไม่ใช่สิ่งที่ใครหลายคนต้องการ แต่ก็ถือว่ามีผลต่อค่าเงินด้วยเช่นกัน นั่นเพราะเมื่อมีข่าวเกี่ยวกับสงครามโดยเฉพาะกับชาติมหาอำนาจอย่าง อเมริกา, จีน, รัสเซียหรือยุโรป ที่เข้าไปเกี่ยวข้องไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมนั้น ย่อมส่งผลต่อค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอเมริกา เนื่องจากเมื่อข่าวสงครามหรือเกิดการระดมพลรวมไปถึงการประกาศโจมตีหรืออะไรก็แล้วแต่ นักลงทุนจะสังเกตได้จากราคาทองที่ดีดตัวสูงขึ้น ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง เพราะนักลงทุนจะหันไปถือทองคำแทนเงินสด ในยามที่เกิดภาวะสงคราม ทองจึงมีค่ามากกว่าสินทรัพย์ใด ๆ อีกทั้งในยามที่เกิดสงครามจริง หากประเทศใดประเทศหนึ่งเกิดแพ้สงครามขึ้นมา ค่าเงินก็จะอ่อนตัวจนไร้ค่า เหมือนดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
- Demand & Supply
ความต้องการซื้อและความต้องการขาย ปัจจัยนี้ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลของค่าเงินสกุลหลักที่ใช้เทรดเป็นอย่างมาก เพราะหากไม่เกิดในเรื่องของความต้องการซื้อและความต้องการขาย ก็คงไม่เกิดการแลกเปลี่ยนค่าเงินเพื่อให้เกิดผลต่างกำไร โดยเฉพาะค่าเงินสกุลหลัก ๆ ของโลก สมมติว่าถ้านักลงทุนด้าน ฟอเรกซ์ อยากเก็งกำไรค่าเงิน ดองของเวียดนาม แต่สภาวะตลาดไม่มีการเทรดกันก็ทำให้ขาดทุน ผิดกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่มีความต้องการสูง การแลกเปลี่ยนในแต่ละวันจึงมีมูลค่าที่มากตามไปด้วย
จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น นักลงทุนต้องคอยศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะคู่ของค่าเงินที่จะเทรด ว่ามีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน อย่างในปัจจุบันนี้จะสังเกตได้จากนโยบายการเงินของแต่ละประเทศเป็นหลัก ว่าส่งผลกระทบต่อค่าเงินของประเทศนั้น ๆ หรือไม่ ที่ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยบางประเทศถึงขั้นติดลบและมีการกระตุ้นเศรษฐกิจขนเม็ดเงินออกมาลงทุนเพื่อให้เกิดเงินเฟ้อ และกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของภาคประชาชน ในขณะที่อีกประเทศกำลังจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงทำให้คู่เงินที่ลงทุนเกิดการสวิงขึ้นลงที่มากขึ้น จึงคอยระมัดระวังตรงนี้ให้มาก เพราะช่วงเวลาที่เกิดเหตุนั้นมักจะเป็นช่วงเวลากลางคืนของประเทศไทยเสมอ (ตามเวลาของประเทศซีกโลกตะวันตกจะเป็นเวลากลางวัน) หากนักลงทุนไม่ได้เทรด ฟอเรกซ์ ในเวลากลางคืน และถือ Position ไว้ ก็อาจส่งผลให้ติดลบหรือบวกขึ้นในทันทีทันใดได้