ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ใด ๆ ก็ตามที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์บนโลกนี้ นักลงทุนไม่สามารถที่จะทำการซื้อขายได้ด้วยตนเอง จำเป็นที่จะต้องมีตัวกลางในการซื้อขายนั่นก็คือโบรกเกอร์ จะต้องทำผ่านตัวกลางทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุน หรือแม้แต่ ฟอเรกซ์ ที่จะต้องมีคนกลางในการติดต่อประสานงานให้ ในขณะที่โบรกเกอร์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดก็ใช่ว่าจะสามารถที่จะทำการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ทุกชนิดเช่นกัน โดยเฉพาะ forex ที่กฎหมายในประเทศไทยยังไม่รองรับโบรกเกอร์ให้จดทะเบียนเพื่อทำการซื้อขายค่าเงินเพื่อเก็งกำไรได้
จะสมัครกับโบรกเกอร์ไหนได้บ้างเพื่อเทรด forex
หากคุณสนใจในการลงทุนเทรดค่าเงินเพื่อเก็งกำไรนั้น จำเป็นที่จะต้องศึกษาในส่วนของโบรกเกอร์ที่อยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ เพราะการที่คุณเทรดค่าเงินเพื่อเก็งกำไรนั้นจำเป็นที่จะต้องสมัครเข้าใช้งานกับโบรกเกอร์ต่างประเทศ ส่วนในประเทศไทยอาจเป็นแค่ตัวแทนในการสมัครเท่านั้น สำหรับประเทศที่มีโบรกเกอร์ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ก็จะมีหน่วยงานของประเทศนั้น ๆ รับรองและให้ความคุ้มครองการเทรดค่าเงินเพื่อเก็งกำไรและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับมีดังนี้
- Financial Conduct Authority (FCA) สหราชอาณาจักร โดย FCA มีหน้าที่ในการกำกับดูแลโบรกเกอร์ ซึ่งโบรกเกอร์จะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านปอนด์ พร้อมกับเงินชดเชยให้กับลูกค้า 50,000 ปอนด์/บัญชี ในกรณีที่โบรกเกอร์มีปัญหาล้มละลาย
- Australian Securities & Investments (ASIC) คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย มีข้อกำหนดว่าโบรกเกอร์ที่จดทะเบียนจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านปอนด์
- Cyprus Securities and Exchange Commission (CySec) หน่วยงานที่กำกับดูแลควบคุมด้านการเงินของประเทศไซปรัส โดยโบรกเกอร์ที่จกทะเบียนจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 750,000 ยูโร รวมถึงเงินชดเชยในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลายให้กับลูกค้า 20,000 ยูโร/บัญชี อีกด้วย
ในขณะที่หน่วยงานรัฐของประเทศไทยนั้นจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับนักลงทุนที่ไปเปิดพอตเทรดค่าเงินเพื่อเก็งกำไรกับโบรกเกอร์ต่างประเทศ เพราะถือว่านักลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเองไม่ว่าจะเป็นการผิดนัดชำระหรือไม่ได้เงินจากการเทรดนั่นเอง การเลือกโบรกเกอร์ ฟอเรกซ์ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งโบรกเกอร์ในตลาด Forex นั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายเจ้า จะเลือกบริษัทไหนนั้นควรตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
- เว็บไซต์ตัวแทนหากเป็นโบรกเกอร์ไทยจะต้องมีเว็บไซต์ภาษาไทยที่คุณสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ต้องชัดเจนเข้าใจง่าย
- ความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสากล มั่นคง มีใบอนุญาตควบคุมดูแล
- การให้บริการต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็ว สามารถดูแลให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ไม่ปล่อยให้ลูกค้ารอนาน
- ช่องทางการรับฝากและถอนเงินจะต้องปลอดภัย ที่สำคัญฟรีค่าธรรมเนียมจะดีมาก
- ค่าสเปรดต่ำ
- ความแม่นยำของกราฟและระบบที่เสถียรไม่ค้างหรือ error บ่อย
- ใบรับรองหรือรางวัลต่าง ๆ ที่โบรกเกอร์ได้รับ
ขอยกตัวอย่างโบรกเกอร์ ฟอเรกซ์ ที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะชาวไทยและโซนเอเชียที่ใช้กันมากได้แก่ Exness, XM Global Limited, Pepperstone, IC Markets, FBS เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถที่จะหาข้อมูลโบรกเกอร์เพิ่มได้อีกในอินเทอร์เน็ต แต่อย่าลืมที่จะตรวจสอบข้อมูลของโบรกเกอร์ให้ดีก่อนที่จะสมัครและฝากเงินเข้าระบบเพื่อทำธุรกรรมกันต่อไป
โบรกเกอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
โบรกเกอร์ ในตลาด forex นั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
- Dealing Desk (DD)
เป็นโบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่าน Market Maker โดยที่คำสั่งซื้อของคุณจะอยู่ในมือของโบรกเกอร์ เมื่อมีอีกโบรกเกอร์ส่งคำสั่งขายผ่านมาทาง Market Maker ก็จะทำการจับคู่กันให้ เช่น นาย A ส่งคำสั่ง BUY EUR/USD 10,000 หน่วย ไปที่โบรกเกอร์ A โบรกเกอร์ A ก็จะหาออเดอร์ที่มีคำสั่ง SELL ตามคู่ค่าเงินที่นาย A เสนอซื้อ หากสามารถจับคู่ได้ก็ส่งข้อมูลไปยังนาย A แต่ถ้าไม่ได้ อาจต้องรับออเดอร์ไว้เอง หรือปฏิเสธการซื้อในครั้งนั้น
ข้อดี
- ค่าบริการถูก
- มีสเปรดที่ตายตัว
ข้อเสีย
- มีความล่าช้า
- ความปลอดภัย
- เสียผลประโยชน์ได้ง่ายในกรณีที่มีข่าวแรง ๆ เพราะโบรกเกอร์อาจมีการปฏิเสธออเดอร์ของคุณ
- เคยเกิดเหตุการณ์โกงของโบรกเกอร์ประเภทนี้รวมถึงกราฟไม่เสถียร โกงราคากราฟลูกค้า
- No Dealing Desk (NDD)
โบรกเกอร์ประเภทนี้จะส่งคำสั่งซื้อ-ขายไปยังตลาดกลางหรือธนาคารโดยตรง จึงมั่นใจได้ว่าออเดอร์ที่คุณส่งไปไม่ว่าจะซื้อหรือขายนั้นจะโดนจับคู่ที่รวดเร็วอย่างแน่นอน เพราะโบรกเกอร์มีแค่ทำหน้าที่ส่งคำสั่งซื้อขายเท่านั้นไม่ต้องคอยจับคู่ให้นักลงทุนแบบ DD รายได้ของโบรกเกอร์จึงมาจากค่าธรรมเนียมและคอมมิชชั่น และสเปรดราคา
ข้อดี
- สะดวก รวดเร็ว ไม่มีปัญหาในเรื่องปฏิเสธออเดอร์
- ปลอดภัยสูง
ข้อเสีย
- ค่าธรรมเนียมและบริการคาดว่าจะสูงกว่าแบบ DD เล็กน้อย
ต่อไปนี้นักลงทุนคงจะพอทราบแล้วใช่ไหมว่าโบรกเกอร์คืออะไรและมีส่วนสำคัญอย่างไรในการเทรด ฟอเรกซ์ รวมถึงประเภทของโบรกเกอร์ด้วยว่าเป็นเช่นไร เพราะหลายต่อหลายครั้งอาจเห็นนักลงทุนมือใหม่เข้ามาบ่นในโลกออนไลน์ว่าโนโกงบ้าง, ส่งออเดอร์ไปแล้วมีปัญหาบ้างหรือแม้แต่การถอนเงินออกจากพอตการลงทุนเองที่ไม่สามารถทำได้ อย่าลืมว่าเงินที่ลงทุนของคุณตราบใดที่ยังไม่ทำการซื้อ-ขาย นั้นสามารถที่จะถอนออกมาเมื่อไรก็ได้ แม้จะเกิดการซื้อไปแล้วหากขายออกไปเงินที่ขายได้ก็ต้องถอนออกมาได้อยู่ดี ทั้งนี้ก็ขึ้นกับเงื่อนไข ระยะเวลาในการถอนเงินสดของแต่ละโบรกเกอร์นั่นเองว่าจะใช้ระยะเวลากี่วันเท่านั้นเอง