เมื่อกล่าวถึงคำว่า “เทรดฟอเรกซ์” เชื่อว่าหลายคนอาจคงเคยได้ยินมาบ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ หรือต้องซื้อสินค้าระหว่างประเทศที่ต้องชำระสินค้าด้วยเงินตราต่างประเทศ ซึ่งต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตรากันระหว่างประเทศ เหล่านี้เองย่อมถือเป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่าฟอเรกซ์ (forex) ทั้งสิ้น กล่าวคือ เป็นการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Foreign Exchange) เพียงแต่กรณีดังกล่าวมิได้มุ่งเก็งกำไรเหมือนการเทรดฟอเรกซ์ เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนธรรมดา
อย่างไรก็ตามด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราดังกล่าว อัตราการแลกเปลี่ยนแต่ละวัน อันที่จริงแต่ละนาทีก็อาจกล่าวได้นั้น ไม่เท่ากัน เพราะอัตราการแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การลดอัตราค่าเงิน หรือเพิ่มอัตราค่าเงิน ตามที่รัฐบาลประเทศนั้นประกาศ ตลอดจนการปรับอัตราดอกเบี้ย พันธบัตร หรือราคาทองคำที่ใช้อ้างอิงสกุลเงินตราประเทศนั้นมีการปรับตัวตลอดเวลาด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุที่อัตราค่าเงินผันผวนตลอดเวลาทำให้ค่าเงินแต่ละสกุลของแต่ละประเทศมีการปรับขึ้นลงตลอดเวลา
จากที่กล่าวมา จุดนี้เองที่นักเก็งกำไรค่าเงินใช้เป็นโอกาสในการเข้าเก็งกำไร โดยหลักการนั้น เหมือนการซื้อขายทั่วไปกล่าวคือ ซื้อที่ราคาต่ำ ไปขายที่ราคาสูง ส่วนที่ในโปรแกรมซื้อขายมีให้เห็นการเปิดออเดอร์ ขาย (sell) ด้วยนั้น เป็นเพียงสลับการซื้อค่าเงินที่จับคู่เพียงเท่านั้น (Currency pair) เช่น ค่าเงิน Eur/Usd เท่ากับ 1.105 หมายความว่า 1 ยูโร สามารถแลกเงินได้ 1.105 ดอลลาร์ หากเห็นว่าค่าเงินยูโรจะแข็งค่าขึ้น จาก 1.105 เป็น 1.110 จึงทำการซื้อเงินยูโรเก็บไว้โดยการเปิด ออเดอร์ buy ย่อมเห็นได้ว่าเมื่อแลกคืนเป็นเงินดอลลาร์ ย่อมได้กำไร 0.05 ดอลล่าร์ต่อ 1 ยูโร และขณะเดียวกันหากคาดว่าค่าเงินยูโรจะอ่อนตัวลง นักเก็งกำไรย่อมเข้าซื้อเงินดอลลาร์แทน โดยการเปิดออร์เดอร์ sell เพื่อนำมาขายคืนแลกเปลี่ยนเงินยูโรได้มากขึ้น อัตราส่วนต่างที่เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นก็จะเป็นกำไรในทำนองเดียวกัน
ซึ่งด้วยในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการโดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต ย่อมเปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถทำการซื้อขายเงินตราในลักษณะเก็งกำไรได้ง่ายขึ้น โดยผ่านโบรกเกอร์ (Broker) อีกทั้งโบรกเกอร์เหล่านั้นก็นำระบบเลเวอเรจ (leverage) เข้ามาใช้ ทำให้นักเก็งกำไรไม่จำต้องใช้เงินจำนวนมาก เพื่อซื้อเก็งกำไร เสมือนหนึ่งว่าทาง โบรกเกอร์จะออกเงินให้ก่อน เช่น เลเวอเรจ 1:100 หมายถึง 1 ดอลลาร์ สามารถใช้ซื้อขายได้เสมือนเงิน 100 ดอลลาร์ ส่วนโบรกเกอร์เองนั้น มิได้ขาดทุนหรือมีความเสี่ยงแต่อย่างใด เนื่องจากระบบเลเวอเรจเป็นเพียงระบบทดจำนวนเงิน มิได้ใช้เงินจำนวนตามขนาด lot ซื้อขายจริง การที่นักเก็งกำไรทำคำสั่งซื้อ มิได้หมายความว่าโบรกเกอร์ทำคำสั่งซื้อตามด้วยในจำนวนเงินทดลองให้ แต่โบรกเกอร์เป็นเพียงตัวกลางส่งคำสั่งซื้อขายไปยังธนาคารเท่านั้น โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการส่ง แต่ละคำสั่ง
ดังนั้นด้วยระบบดังกล่าวจึงเป็นที่ยืนยันได้ว่าการเก็งกำไรค่าเงินจากการ เทรดฟอเรกซ์ สามารถทำได้จริง และใช้เงินทุนจำนวนไม่มาก และทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย